สาระน่ารู้ | |||||||||
*คำแนะนำในการติดต่อกับสถานีตำรวจ* เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เมื่อท่านไปติดต่อที่สถานีตำรวจ ท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบแทนฯ หรือ 2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ 3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ 4. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ 5. สำเนาทะเบียนบ้าน 6. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำ หลักฐานต่างๆ ดังนี้ติดตัวไปด้วย 6.1 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ 6.2 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล) 6.3 ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่านนำหลักฐานซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานหรือสามีภรรยา(ซึ่งได้จดทะเบียนบ้าน,สูติบัตร,ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 6.4 ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีและภรรยาแล้วแต่กรณี ให้ร้องทุกข์แทนหรือ เป็นตัวแทนโดยสมบูรณ์ 6.5 ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ (1) หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐานทั้งติดอากรแสดมป์ 5 บาท (2) หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์ -------------------------------------------------------------------------------- *การแจ้งความต่าง ๆ * *แจ้งความบัตรประจำตัวประชาชนหาย* กรุงเทพมหานคร : แจ้งที่สถานีตำรวจ *อายุของบัตร* *ความผิด* -------------------------------------------------------------------------------- 1. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น 2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี) 3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ 4. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี ในกรณีลักทรัพย์ในบ้านเรือน หรือสำนักงานให้รักษาร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปถึง *การประกันตัวผู้ต้องหา* ในกรณีที่ท่านต้องการประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในชั้นสอบสวนท่านควรมีหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ติดตัวไปด้วยคือ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกันได้แก่ 2.1 เงินสด(เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น) 2.2โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่า ของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน 2.3 หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3 ก) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ไว้ในสัญญาประกัน 2.4 พันธบัตรรัฐบาล 2.5 สลากออมสินและสมุดฝากเงินธนาคารประเภทฝากประจำ 2.6 ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร 2.7 ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว 2.8 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว 2.9 เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง 2.10 หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน 3. ในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันมีครอบครัวแล้ว จะต้องทำหนังสือแสดงการอนุญาตจากสามีหรือภรรยาแล้วแต่กรณีไปด้วย * วิธีปฏิบัติ* 1 ให้ผู้ที่มาขอประกันตัวผู้ต้องหา พบและยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม 2 หากไม่อาจเขียนคำร้องประกันได้เอง ให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ 3 เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้ว ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่งต้องลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย 4 เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับคำร้อง 5 หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้าให้รีบเข้าพบหรือแจ้งต่อสารวัตร สารวัตรหัวหน้างานคนใดคนหนึ่งหรือหัวหน้าสถานีตำรวจนั้นทราบทันที * การใช้บุคคลเป็นประกัน* คำสั่งกรมตำรวจที่ 622/2536 ลง 15 เมษายน 2536 เรื่องการใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีนโยบายอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชนโดยเฉพาะเรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 110 และ มาตรา 114 วรรค สอง การใช้บุคคลเป็นประกัน
* การขออนุญาตต่าง ๆ *เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขออนุญาตต่างๆ จึงได้ จัดทำเอกสารแนะนำดังต่อไปนี้ 1. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อผู้กำกับหรือรองผู้กำกับหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ นายอำเภอเป็นผู้อนุญาต
การก่ออาชญากรรม การก่อการร้ายถือได้ว่าเป็นผลของการกระทำของบุคคลทั้งสิ้น บุคคลต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในแง่ของผู้กระทำดังที่เราเรียกกันว่า "คนร้าย"หรือ"ผู้ร้าย" ประกอบกับการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีปัจจุบันได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วจึงทำให้การกระทำความผิดของคนร้ายมักจะใช้ยานพาหนะต่าง ๆ เพื่อหลบหนีอย่างรวดเร็วเช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในช่วงเวลาที่คนร้ายลงมือกระทำความผิดและหลบหนีนั้น คนร้ายย่อมพยายามจะใช้เวลาให้รวดเร็วที่สุด เพื่อมิให้มีผู้ใดพบเห็น และเพื่อให้รอดพ้นจากการสืบสวนติดตามจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การขับรถโดยปลอดภัย การขับรถโดยปลอดภัยขึ้นอยู่กับความรู้ 5 ประการ หรือหลัก "5" ร 1 รอบรู้เรื่อง "รถ" 2 รอบรู้เรื่อง "ทาง" 3 รอบรู้เรื่อง "วิธีการขับรถ" 4 รอบรู้เรื่อง "กฎจราจร" 5 รอบรู้เรื่องมารยาท " มารยาท" 1 รอบรู้เรื่องรถ นักขับรถที่ดีจะต้องรอบรู้เรื่องรถที่ขับขี่เป็นอย่างดี หมั่นตรวจตราแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งก่อนออกเดินทางไกล ควรจะได้ตรวจอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญ ๆ เช่น เครื่องยนต์ , ห้ามล้อ,ยาง, น๊อตบังคับล้อ,พวงมาลัย,ที่ปัดน้ำฝน,กระจกส่องหลัง,ไฟ 2 รอบรู้เรื่องทาง ทางแต่ละสายย่อมแตกต่างกันโดยสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ถ้าเป็นเส้นทางไม่เคยไป ควรศึกษาจากแผนที่ คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง ตำรวจท้องที่ ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดท่านจะต้องสังเกตและปฏิบัติตามป้ายและเครื่องหมายจราจร 3 รอบรู้เรื่องวิธีขับรถ การขับรถเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ขับรถเป็นอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้วิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยฉับพลันและสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิดเนื่องจากขาดความชำนาญ เช่น เบรกแตกจะทำอย่างไร 4 รอบรู้เรื่องกฎจราจร กฎจราจรมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนน ประพฤติปฏิบัติไปในแนวเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็ว ความรู้เกี่ยวกับ การเดินถนน,การข้ามถนน,การขึ้นลงรถประจำทางอย่างปลอดภัย 1 การเดินถนน 1.1 ถนนที่มีทางเท้าจัดไว้ให้เดินบนทางเท้า และอย่าเดินใกล้ทางรถ โดยหันหลังให้รถที่กำลังแล่นมา ก่อนที่จะก้าวไปในทางรถ ต้องมองซ้าย - ขวาก่อนเสมอ 1.2 ถนนที่ไม่มีทางเท้า ให้เดินชิดริมทางขวาของถนน อย่าเดินคู่กัน ให้เดินเรียงเดี่ยวตามกันไป 1.3 ถ้าจูงเด็กให้เด็กเดินด้านในและจับมือเด็กไว้ให้มั่น เพื่อป้องกันเด็กวิ่งออกไปในทางรถ 1.4 การเดินถนนในที่มืด ควรสวมเสื้อขาวและถ้าถือไฟฉายส่องติดมือไปด้วยก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 1.5 แถวหรือขบวนทหาร ตำรวจ ลูกเสือหรือนักเรียนที่มีผู้บังคับบัญชาควบคุมเดินอย่างเป็นระเบียบ จะเดินทางรถยนต์ได้โดยเดินชิดทางรถด้านขวาหรือด้านซ้ายตามความจำเป็น 2 การข้ามถนน 2.1 ก่อนข้ามถนนทุกครั้ง ต้องหยุดเดินที่ขอบถนน มองขวาซ้าย แล้วมองขวาให้แน่ใจว่าไม่มีรถกำลังแล่นมาจึงข้ามได้ แล้วให้รีบข้ามถนนไปเป็นเส้นตรง และให้เดินอย่างรวดเร็ว อย่าวิ่งข้ามถนน 2.2 ถ้าบริเวณที่จะข้ามถนนมีช่องข้ามทาง(ทางม้าลาย)ต้องข้ามตรงช่องจะปลอดภัยที่สุด 2.3 อย่าข้ามถนนโดยออกจากที่กำบังตัว เช่น ออกจากซอยรถที่จอดอยู่ หรือ ท้ายรถประจำทาง เพราะจะเกิดอันตรายขึ้นได้ 2.4 การข้ามถนนที่รถเดินทางเดียว ต้องหยุดให้แน่ใจเสียก่อนว่ารถแล่นมาจากไหนและมีความปลอดภัยพอหรือยัง จึงข้ามได้ 2.5 ถนนที่มีเกาะกลางถนนต้องข้ามทีละครึ่งถนน โดยข้ามครั้งแรกไปพักที่เกาะกลางถนนเสียก่อน จึงข้ามในครึ่งหลังต่อไป 2.6 ในเวลากลางคืนควรไปหาที่ข้ามที่มีแสงสว่าง 3 ช่องข้ามทางหรือทางม้าลาย 3.1 คนเดินเท้าที่กำลังเดินข้ามถนนในทางม้าลายมีสิทธิไปก่อนรถ เพราะตามกฎหมายต้องหยุดให้คนข้ามในทางข้าม แต่จะต้องระวังให้โอกาสแก่รถที่ชะลอความเร็วและหยุดไม่ทันก่อนที่จะก้าวลงไปถนน ยิ่งเวลาฝนตกถนนลื่นต้องระวังให้มาก 3.2 ถึงแม้ว่าคนขับรถจะหยุดให้ข้ามต้องข้ามด้วยความระมัดระวัง มองขวามองซ้ายตลอดเวลา เพราะอาจมีผู้ขับขี่บ้าบิ่นแซงรถที่หยุดรถอยู่ขึ้นมาก็ได้ และการข้ามถนนต้องรวดเร็วอย่าเดินลอยชาย 3.3 การข้ามถนนในช่องทางข้ามที่บริเวณทางแยกให้ระวังรถที่จะเลี้ยวเข้ามาหาตัวท่านด้วย 3.4 ถ้ามีเกาะกลางถนนทำไว้ที่ทางม้าลายให้ข้ามถนนไปทีละครึ่งถนนโดยพักรออยู่บนเกาะ มองขวา มองซ้ายปลอดภัยแล้วจึงข้าม ดังนั้น ถ้าท่านกำลังข้ามถนนอยู่ ถ้าเห็นรูปคนสีเขียวกะพริบขึ้นที่สัญญาณไฟ ก็ให้รีบข้ามถนนให้พ้นไปโดยเร็วข้อสำคัญอย่าเริ่มก้าวข้ามถนนเมื่อเห็นรูปคนสีเขียวกะพริบที่สัญญาณไฟเป็นอันขาด เพราะจะข้ามถนนไปไม่ตลอดและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ 4 ทางข้ามที่มีตำรวจจราจรควบคุม อย่าข้ามถนนเมื่อตำรวจกำลังปล่อยรถเดินอยู่ หรือเมื่อตำรวจให้สัญญาณห้ามคนเดินเท้าอยู่ 5 การข้ามถนนบนสะพานลอย ถนนในกรุงเทพฯ และในเมืองใหญ่จะทำสะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนน ให้ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอยจะปลอดภัยกว่า 6 การขึ้นลงรถประจำทาง อย่าขึ้นหรือลงรถประจำทาง จนกว่ารถจะหยุดสนิทที่ป้ายหยุดรถประจำทาง เมื่อลงจากรถประจำทางแล้วจะข้ามถนนควรรอให้รถออกไปให้พ้นเสียก่อน จะได้มองเห็นรถอื่น ๆ ที่แล่นเข้ามาได้อย่างชัดเจน * ความรู้เกี่ยวกับรถที่นำมาใช้* 1 ห้ามนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือ อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้คนโดยสารหรือประชาชนมาใช้ในทางเดินรถ เช่น รถตัวถังผุ ๆ พัง ๆ ยางล้อรถไม่มีดอกยาง,ควันดำ ฯลฯ 2 รถที่นำมาใช้ต้องมีโคมไฟหน้า - หลัง ,ไฟเลี้ยว,ไฟจอด,ไฟเบรก,ไฟฉุกเฉิน,แตร,เบรกมือที่ใช้การได้,ที่ปัดน้ำฝน,ครบถูกต้องตามกฎหมาย 3 รถที่นำมาใช้ต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนหน้า - หลัง (มีไฟส่องป้ายทะเบียนหลัง)และติดไฟป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีด้วย 4 รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดง เวลากลางคืนต้องติดโคมสีแดงไว้ที่ตอนปลายสุดของสิ่งบรรทุกนั้น ให้สามารถมองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร 5 ผู้ขับรถบรรทุกสัตว์และสิ่งของ ต้องจัดให้มีผ้าใบคลุมป้องกันไม่ให้สัตว์หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่นรั่วไหลส่งกลิ่น หล่น หรือปลิวไปจากรถ อันก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญหรือทำให้ถนนสกปรกเปรอะเปื้อน *ความรู้เกี่ยวกับการขับรถ* 1 ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือเฉี่ยวชนคนเดินเท้า ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะเด็ก คนชรา หรือคนพิการที่กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมรถของตนเอง 2 ในการขับรถ ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย และต้องไม่ล้ำเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้เดินทางขวาหรือล้ำเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถได้ 2.1 ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดกั้นการจราจร 2.2 การเดินรถนั้นกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว 2.3 ทางเดินรถกว้างไม่ถึง 6 เมตร 3 ในการใช้ทางที่แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด หรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ให้เดินรถทางขวาของทางเดินรถได้ 3.1 ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร 3.2 ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว 3.3 จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วม ทางแยก 3.4 เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น 4 รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ รถที่มีความเร็วช้า หรือ รถที่ใช้ความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับไปในทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ช่องทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่ทำได้ ถ้าทางรถนั้นได้แบ่งช่องเดินรถในทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด หรือใกล้กับช่องทางเดินรถประจำทาง 5 ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้าไปก่อนเปลี่ยนช่องเดินรถ และลดความเร็ว จอดรถหรือหยุดรถ ต้องใช้สัญญาณมือและ/หรือสัญญาณไฟ เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร ก่อนถึงทางเลี้ยว 6 เมื่อขับรถสวนกัน ให้ขับรถชิดด้านซ้ายของทางเดินรถโดยให้ถือเส้นกึ่งกลางของทางรถเป็นหลัก หรือ เส้นแนวที่แบ่งเป็นช่องเดินรถเป็นหลัก 7 ในทางเดินรถที่แคบ เมื่อขับรถสวนกับผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายต้องลดความเร็วของรถเพื่อให้รถสวนกันได้โดยปลอดภัย 8 ในทางเดินรถที่แคบ ซึ่งไม่อาจขับสวนกันได้โดยปลอดภัย เมื่อขับรถสวนกัน ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่ใหญ่กว่าต้องหยุดรถให้ชิดขอบทางเดินรถด้านซ้ายให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่เล็กกว่าผ่านไปก่อน 9 ในทางเดินรถที่มีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถเพื่อให้รถที่สวนมาผ่านไปได้ก่อน 10 ผู้ขับขี่ต้องขับให้ห่างจากรถคันหน้าพอสมควร ในระยะที่หยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ 11 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถขึ้นสะพาน หรือทางลาดชัน ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถถอยหลังไปโดนรถคันอื่น 12 ทางเดินรถใดที่มีเครื่องหมายจราจรแบ่งทางเดินรถออกเป็นสองทาง สำหรับรถเดินได้ทางหนึ่ง ล่องทางหนึ่ง โดยมีช่องว่างคั่นกลางหรือทำเครื่องหมายจราจรกีดกั้น แสดงว่าทางเดินรถนั้นมีการแบ่งออกเป็นสองทางดังกล่าวให้ผู้ขับขี่รถชิดซ้ายของทางเดินรถ 13 ห้ามมิให้ขับขี่รถยนต์ในกรณีดังต่อไปนี้ 13.1ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะเกิดอันตรายขึ้นได้ 13.2 ขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น , หรือเสพยาบ้า 13.3 ในลักษณะกีดขวางการจราจร 13.4 โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน 13.5 ในลักษณะผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลังด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านซึ่งไม่พอแก่ความปลอดภัย 13.6 คร่อมหรือทับเส้นแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องทางเดินรถ เลี้ยวรถหรือกลับรถ 13.7 บนทางเดินเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ 13.8 โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น 14 ขณะขับรถต้องนำใบอนุญาตขับขี่ติดตัวไปด้วย และใบอนุญาตนั้นจะต้องถูกต้องตามชนิดและประเภทของรถ พร้อมนำภาพถ่ายสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถติดตัวไปด้วยอย่าเก็บภาพถ่ายสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถไว้ในลิ้นชักรถเพราะภาพถ่ายสำเนาคู่มือทะเบียนรถนั้น เจ้าของหรือผู้ขับจะไว้ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อป้องกันการโจรกรรมรถหากเป็นคนร้ายขโมยรถไป ก็ไม่สามารถแสดงสำเนาภาพถ่ายสำเนาคู่มือจดทะเบียนได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะยึดรถไว้ให้เจ้าของนำหลักฐานมาขอรับรถ 15 ผู้ขับขี่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครื่องหมายสัญญาณการจราจรต่าง ๆ และแผ่นป้ายเครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งตามถนนสายต่าง ๆ และให้ปฏิบัติตามด้วย *ความรู้เกี่ยวกับการขับแซงหรือผ่านขึ้นหน้า * 1 ผู้ขับขี่จะแซงขึ้นหน้ารถอื่น 1.1 ต้องให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันหน้าทราบตามความประสงค์ 1.2 ในเวลากลางคืนให้สัญญาณไฟสูงต่ำสลับกัน 1.3 ให้สัญญาณไฟกระพริบทางขวาเพื่อให้รถคันหลังรู้ว่าจะแซง 1.4 ดูในกระจกหลังว่ามีรถด้านหลังกำลังแซงขึ้นมาหรือไม่ 1.5 ดูข้างหน้าว่ามีรถสวนทางมาหรือไม่ 1.6 เมื่อผู้ขับขี่รถคันหน้าให้สัญญาณตอบแล้วจึงแซงขี้นหน้าได้ 2 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นด้านซ้าย เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ 2.1 รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา 2.2 ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป การขับรถแซงด้านซ้ายตาม 2.1 หรือ 2.2 จะกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะกระชั้นชิดและมีความปลอดภัยพอ 3 ห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในกรณีดังนี้ 3.1 เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพานหรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ 3.2 ภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียน หรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ 3.3 เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าในระยะ 60 เมตร 3.4 เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย 3.5 ห้ามขับแซงล้ำเข้าใปในช่องเดินรถประจำทาง 4 เมื่อได้รับสัญญาณขอแซงขึ้นหน้าจากรถคันที่อยู่ข้างหลัง ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมีความเร็วช้า หรือรถที่ใช้ความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถอื่นที่ขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน ต้องยอมให้รถที่มีความเร็วสูงกว่าผ่านขึ้นหน้า 5 ผู้ขับขี่ขอทางต้องให้สัญญาณตอบ เมื่อเห็นว่าทางเดินรถข้าหน้าปลอดภัยและไม่มีรถอื่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิดและต้องลดความเร็วของรถ และขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถเพื่อให้รถที่จะแซงขึ้นหน้าแซงขึ้นหน้าได้โดยปลอดภัย *ความรู้เกี่ยวกับการออกรถ,การเลี้ยวรถและการกลับรถ * 1 การขับรถออกจากที่จอดรถ 1.1 ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน หรือไฟกะพริบทางขวา 1.2 มองดูกระจกหลัง เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถอื่นจึงเลื่อนออกจากที่จอดรถ 2 การเลี้ยวซ้าย 2.1 ในกรณีที่ไม่ได้แบ่งช่องเดินรถไว้ ให้ผู้ขับขี่รถชิดทางเดินรถด้านซ้าย 2.2 ในกรณีที่มีการแบ่งช่องเดินรถไว้ และมีเครื่องหมายการจราจร และให้เลี้ยวซ้ายได้ ให้ผู้ขับขี่รถในช่องทางเดินรถสำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้าย ทั้งนี้ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร 2.3 ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุด ให้ผู้ขับขี่รถชิดช่องเดินรถประจำทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะเลี้ยวรถผ่านไปในช่องเดินรถประจำทางได้เฉพาะบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยวรถผ่นได้เท่านั้น 3 การเลี้ยวขวา 3.1 สำหรับทางเดินรถที่ไม่ได้แบ่งช่องเดินรถ ให้ผู้ขับรถชิดทางด้านขวาแนวกึ่งกลางของทางเดินรถก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร 3.2 สำหรับทางเดินรถที่แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป ให้ผู้ขับขี่รถชิดทางขวาสุดทางเดินรถ หรือในช่องที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้เลี้ยวขวาได้ ทั้งนี้ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร 3.3 ในกรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางเดินรถด้านขวาสุด ให้ผู้ขับขี่รถชิดช่องเดินรถประจำทางก่อนถึงทางเลี้ยไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะเลี้ยวรถผ่านเข้าไปในช่องเดินถรประจำทางได้เฉพาะใบบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยรถผ่านได้เท่านั้น 3.4 สำหรับทางเดินรถที่มีเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงสัญญาณจราจรด้วยมือและแขน ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวขวาผ่านไปได้โดยไม่ต้องอ้อมเจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ 3.5 ขับรถจะเข้าทางแยกและต้องการที่จะเลี้ยวขวา ก่อนอื่นต้องดูกระจกมองหลังเพื่อดูทิศทางและการกระทำของรถที่แล่นตามหลัง เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว ให้สัญญาณเลี้ยวขวาขับรถเข้าทางกลางทางด้านซ้ายของกึ่งกลางของทางแยกหรือตามเส้นจราจรที่ทำไว้ทางแยก ระวังให้มีทางรถที่ผ่านด้านซ้ายด้วย เมื่อหยุดอยู่จนกระทั่งรถที่แล่นสวนในทางตรงว่าง แล้วจึงเลี้ยวขวาไปได้ อย่าเลี้ยวขวาติดมุมโดยไม่เข้าอยู่กลางทางแยก * ข้อควรจำ* ดูกระจกมองหลัง - ให้สัญญาณ - หยุดรถ - มีช่องว่างจึงเลี้ยวไปได้ 3.6 การเลี้ยวขวาในทางแยกที่มีเกาะแบ่งทางรถขึ้นลง ต้องเลี้ยวขวาไปหยุดรอที่หัวเกาะแบ่งทาง แล้วรอจนกระทั่งรถในเกาะนั้นว่าง จึงเลี้ยวตัดออกไปได้ 4 ถ้าจะเลี้ยวอ้อมวงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ ให้ผู้ขับขี่รถอ้อมไปทางซ้ายของวงเวียนหรือเกาะนั้น ในกรณีนี้ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวัง และต้องหยุดให้ทางแก่ผู้ที่กำลังข้ามทางรถหรือขับรถกำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากด้านอื่นก่อน เว้นแต่ในกรณีที่มีรถเลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวาพร้อมกัน ให้รถเลี้ยวซ้ายให้ทางแก่รถเลี้ยวขวาก่อน 5 ในทางเดินรถที่สวนกันได้ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่กลับรถในเมื่อมีรถอื่นสวนหรือตามมาในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร 6 ถ้าหากการกลับรถในทางเดินรถที่สวนกันได้ จะเป็นการกีดขวางการจราจร ห้ามมิให้ผู้ขับขี่กลับรถในทางเดินรถนั้น 7 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ 7.1 เลี้ยวรถหรือกลับรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวรถ,ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามกลับรถ 7.2 กลับรถที่เขตปลอดภัย,ที่คับขัน,บนสะพาน,เลี้ยวในระยะ 100 เมตรจากทางราบของเชิงสะพาน 7.3 กลับรถที่ทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายการจราจรให้กลับรถในบริเวณดังกล่าวได้ *ความรู้เกี่ยวกับการขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน * 1 เมื่อผู้ขับขี่รถมาถึงทางร่วมทางแยก ให้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1.1 ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน 1.2 ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่รออยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปก่อน 1.3 เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่าน ทางเดินรถทางโทให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับขี่รถในทางเอกมีสิทธิขับผ่านไปก่อน 2 ทางเดินรถทางเอก ได้แก่ ทางเดินรถต่อไปนี้ 2.1 ทางเดินรถที่ได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นทางเดินรถทางเอก 2.2 ทางเดินรถที่มีป้ายหยุดหรือป้ายที่มีคำว่า "ให้ทาง" ติดตั้งไว้หรือทางเดินรถที่มีคำว่า หยุด หรือเส้นหยุดซึ่งเป็นเส้นขาวทึบหรือเส้นให้ทางซึ่งเป็นเส้นขาวประบนผิวทาง ให้ทางเดินรถที่ขวางด้านหน้าเป็นทางเดินรถทางเอก 2.3 ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายจราจรตาม(2.1)หรือไม่มีป้ายหรือเส้นหรือข้อความบนผิวทางตาม(2.2)ให้ทางเดินรถที่มีช่องเดินรถมากกว่าเป็นทางเดินรถทางเอก 2.4 ถนนที่ตัดหรือบรรจบกับตรอกหรือซอย ให้ทางเดินรถที่เป็นถนนเป็นทางเดินรถทางเอก * ทางเดินรถอื่นนอกจากทางเดินรถทางเอกตาม วรรคหนึ่งให้ถือว่าเป็นทางเดินรถทางโท 3 ในกรณีที่วงเวียนใดได้ติดตั้งสัญญาณจราจร ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้น ถ้าไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ขับขี่รถมาถึงวงเวียน ต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของคนขับผ่านไปก่อน ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรเห็นสมควร เพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร จะต้องใช้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นแล้ว นอกจาที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ 4 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถออกจากทางบุคคลหรือทางเดินรถในบริเวณอาคาร เมื่อจะขับรถผ่านหรือเลี้ยวเข้าสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่านต้องหยุดรถ เพื่อให้รถที่กำลังผ่านทางหรือที่กำลังแล่นอยู่ในทางเดินรถผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไปได้ *ความรู้เกี่ยวกับการหยุดรถและจอดรถ การจอดรถที่ผิดกฎจราจร* 1. หยุดรถหรือจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟ หรือด้วยมือและแขนก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้เมื่อ ผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางจราจร 2 ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ชิดด้านซ้ายของรถ ขนานชิดขอบทาง หรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 ซม. หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ 3 แต่ในกรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องทางเดินรถประจำทางนั้น 4 ห้ามมิให้ผู้ชับขี่หยุดรถ 4.1 ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง 4.2 บนทางเท้า 4.3 บนสะพานหรือในอุโมงค์ 4.4 ในทางร่วมทางแยก 5 ในกรณีที่เครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถขัดข้อง จนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมาย หรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 6 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ 6.1 บนทางเท้า 6.2 บนสะพานหรือในอุโมงค์ 6.3 ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก 6.4 ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตร จากทางข้าม 6.5 ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ 6.6 ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง 6.7 ในระยะ 10 เมตร จากที่ตั้งสัญญาณจราจร 6.8 ในระยะ 15 เมตร จากทางรถไฟผ่าน 6.9 ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว 6.10 ตรงปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือระยะ ห้าเมตร จากปากทางเดินรถ 6.11 ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะ สิบเมตร นับจากปลายสุดทางเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง 6.12 ในที่คับขัน 6.13 ในระยะ สิบห้าเมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลยเครื่องหมายไปอีก สามเมตร 6.14 ในระยะ สามเมตร จากตู้ไปรษณีย์ 6.15 ในลักษณะกีดขวางกาาจราจร *การจดรถที่ผิดกฎจราจร* 7 การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถได้ ผู้ขับขี่ต้องหยุดดับเครื่องยนต์และห้ามล้อรถไว้ 8 การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง 9 เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่ อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้พ้นจากการกีดขวางการจราจรได้ 10 ในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้สั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายรถนั้นได้ 11 การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ผู้ขับขี่ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่รถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า หนึ่งร้อยห้าสิบเมตร 12 ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้ง ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 13 ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟ ถ้าปรากฏว่า 13.1 มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังผ่าน 13.2 มีสิ่งปิดกั้นหรือเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน 13.3 มีเสียงสัญญาณของรถไฟ หรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไปผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถ และหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า ห้าเมตร เมื่อรถไฟผ่านไปแล้วและมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านด้วย ผู้ขับขี่จะขับรถผ่านไปได้ 14 ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่าน ไม่ว่าจะมีเครื่องระวังรถไฟหรือไม่ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระหว่างรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถหยุดห่างจากทางรถไฟในระยะไม่น้อยกว่า ห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัย จึงให้ขับรถผ่านไปได้ 15 ในขณะที่ผู้ขั้บขี่รถโรงเรียนหยุดรถใน่างเดินรถเพื่อรับส่งนักเรียนขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่รถอื่นตามมาในทิศทางเดียวกัน หรือสวนกันกับรถโรงเรียน ใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่าปลอดภัย จึงให้ขับรถผ่านไปได้ *ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ* 1. ผู้ขับขี่รถด้วยอัตราความเร็วตามที่กำหนด ในกฏกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง เครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งไว้ตามวรรคหนึ่งจะกำหนดอัตราความเร็วชั้นสูงต่ำก็ได้แต่ต้องไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดในกฎกระทรวง 2 ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถให้รถอื่นแซงหรือขึ้นหน้า จอดรถ หยุดรถ หรือกลับรถ ต้องลดความเร็วของรถ 3 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเดินรถบนเนินเขา บนสะพาน ที่เชิงสะพานแคบ ทางโค้ง ทางลาด ที่คับขัน หรือที่มีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควันจนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ หกสิบเมตร ต้องลดความเร็วของรถในลักษณะที่จะให้เกิดความปลอดภัย 4 ผู้ขับขี่รถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทงข้ามเส้นให้รถหยุดหรือวงเวียน ต้องลดความเร็วของรถ 5 อัตราความเร็วของรถตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 6 , 10 มีดังนี้ 5.1 สำหรับรถต่อไปนี้ ในเขตเทศบาลขับไม่เกิน ชม.ละ 60 กม. นอกเขตเทศบาล ขับไม่เกิน ชม.ละ 80 กม. (1) รถโดยสารประจำทาง (2) รถโดยสารไม่ประจำทาง (3) รถโดยสารขนาดเล็ก (4) รถโดยสารส่วนบุคคล(ที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 7 คน) (5) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (6) รถบรรทุกประจำทาง (7) รถบรรทุกไม่ประจำทาง (8) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม 5.2 สำหรับรถต่อไปนี้ ในเขตเทศบาลขับไม่เกิน ชม.ละ 45 นอกเขตเทศบาลขับไม่เกิน ชม.ละ 60 กม. (1) รถยนต์สามล้อ (2) รถยนต์ทุกชนิดขณะที่ลากจูงรถพ่วง (3) รถยนต์ที่บรรทุกของเกินกำหนดได้โดยชอบ 5.3 สำหรับรถต่อไปนี้ในเขตเทศบาลขับไม่เกิน ชม.ละ 80 กม. นอกเขตเทศบาลให้ขับไม่เกิน ชม.ละ 90 กม. (1) รถยนต์อื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ(5.1)หรือ ข้อ (5.2) หรือรถจักรยานยนต์ *การเดินถนนและการข้ามถนน ตลอดจนการโดยสารรถที่ปลอดภัย* - ผู้ขับขี่หรือผู้เดินถนนมีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรแต่ไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝนกฎการจราจร เช่น ขับรถด้วยความประมาทขาดความระมัดระวัง, ขับรถในขณะร่างกายหย่อนสมรรถภาพ,ขับรถขณะมึนเมาสุรา,กินยาแก้ง่วงขณะขับรถ,กินยาแก้อาการแพ้,ยาแก้ไข้หวัดซึ่งทำให้ง่วงนอนแล้วทำการขับรถ - คนแก่หรือเด็กเดินตามถนนหรือข้ามถนนย่อมขาดความระมัดระวังและการติดสินใจไม่ดี - สถานการณ์ไม่ดี เช่น ถนนลื่นหรือถนนไม่มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรเตือนให้ระวังหรือบังคับถนนหรือทางแยกมีแสงไม่เพียงพอ,เส้นแบ่งช่องทางเดินรถไม่มีหรือมีแต่เลอะเลือนไม่ชัดเจน - ทัศนวิสัยไม่ดี เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ ฝนตก,หมอกลงจัด,ชาวบ้านจุดไฟเผาซังข้าวในนา ทำให้เกิดควันพัดมาที่ถนนจนผู้ขับขี่มองไม่เห็นทาง - สภาพถนนไม่ดี และอุปกรณ์รถไม่ครบถ้วน เช่น เบรกชำรุด,ไม่มีไฟใหญ่หน้ารถทั้งสองข้าง ไม่มีไฟท้าย ไม่มีไฟเลี้ยว,ยางรถไม่มีดอก,ศูนย์รถไม่ดี *ศิลปะการขับขี่รถให้ปลอดภัย* การขับรถให้ปลอดภัยโดยมีอันตรายเกิดขึ้นน้อยที่สุดนั้นเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งทุกคนสามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพึงปฏิบัติตนให้ชำนิชำนาญได้ เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าเกิดขึ้น ศิลปะในการขับรถให้ปลอดภัยนี้ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ 1 ความไม่ประมาท จิตใจ และสายตา ควรอยู่บนถนนตลอดเวลา จะช่วยให้สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ได้ล่วงหน้าและมีเวลาในการตัดสินใจเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น 2 ความมีสติมั่นคง ไม่ตกใจง่าย สามารถควบคุมสติได้ทำให้ติดสินใจได้ถูกต้องฉับไวไม่ผิดพลาด 3 ความชำนาญในการควบคุมรถ และสามารถเลือกใช้วิธีแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้ถูกต้อง สองข้อแรก ท่านสามารถปฏิบัติได้ถ้าท่านตั้งใจที่จะทำ ส่วนในข้อหลังนั้นท่านอาจจะหาได้จากประสบการณ์หรือเรียนรู้โดยการค้นคว้าศึกษาจากข้อแนะนำ หรือบทความที่ผู้รู้ได้เขียนไว้ก็ได้ เมื่อท่านมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อก็นับได้ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีศิลปะในการขับรถให้ปลอดภัย เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อพึงปฏิบัติในการขับรถให้ปลอดภัย ถ้าท่านจำได้ในขณะขับรถทุกครั้ง หรือลองปฏิบัติดูเมื่อมีโอกาส อาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน ช่วยให้ท่านสามารถเลี่ยงอุบัติเหตุในขณะขับรถได้ไม่มากก็น้อย.. |
|||||||||
|